ย้ำความเป็นเลิศในทุกบริบท
98 Wireless โครงการที่พักอาศัยแห่งแรกในประเทศไทย
ที่ผ่านการรับรองคุณภาพความยั่งยืนจาก LEED
อีกหนึ่งมาตรฐานการประเมินคุณภาพอาคารระดับสากลที่คนไทยต้องรู้จัก
แม้ว่าการประเมินคุณภาพจาก LEED อาจยังไม่เป็นที่รู้จักกันในวงกว้างนักสำหรับคนไทย แต่ต้องกล่าวว่า LEED ถือเป็นมาตรฐานการประเมินคุณภาพความยั่งยืนระดับสากล ในเรื่อง การออกแบบ การก่อสร้าง และการปฏิบัติการของอาคารสีเขียว หรือที่เรียกกันว่ารางวัล LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) จากสภาอาคารเขียวสหรัฐอเมริกา (U.S. Green Building Council: USGBC) ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วโลก และ ถ้าบอกว่า โครงการ 98 Wireless โครงการแฟล็กชิพคอนโดมิเนียมล่าสุดของแสนสิริ ที่เปิดตัวไปเมื่อช่วงต้นปี ได้รับรางวัล LEED ในระดับ Certified ดังนั้น เราคนไทยก็น่าจะทำความรู้จักรางวัล LEED นี้กันสักเล็กน้อย เพราะทั่วโลกมีอาคารเพื่อการพาณิชย์และอาคารสำคัญ ๆ กว่า 38,600 แห่งที่ได้รับการรับรองมาตรฐานนี้ รวมแล้วเป็นพื้นที่ใช้สอยในอาคาร ถึงมากกว่า 560 ล้านตารางเมตรในมากกว่า 167 ประเทศ ทั้งนี้ 98 Wireless ยังถือเป็นโครงการที่พักอาศัยแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับ Certified จาก LEED อีกด้วย
นายอุทัย อุทัยแสงสุข ประธานผู้บริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “นับเป็นความภาคภูมิใจของแสนสิริที่โครงการ 98 Wireless เป็นที่พักอาศัยแห่งแรก ในไทยที่ได้รับรองมาตรฐาน LEED เพราะแสนสิริใช้เวลากว่า 7 ปีมุ่งมั่นรังสรรค์ให้ทุกมิติ ของโครงการสมบูรณ์แบบ ตั้งแต่การหาทำเล การออกแบบสถาปัตยกรรมทั้งภายในและภายนอก วัสดุที่ใช้ การบริการสุดเอ็กซ์คลูซีฟ รวมถึงเป็นความตั้งใจของเราตั้งแต่เริ่มต้นสร้างที่จะผลักดันให้โครงการ 98 Wireless ได้รับการประเมินอาคารเขียวในระดับ Certified จาก LEED เพราะในที่สุดแล้ว คำว่า “The Best Comes as Standard” ของ 98 Wireless จะไม่ใช่ The Best ที่แท้จริง หากไม่ก่อให้เกิดความยั่งยืนและช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้พักอาศัย เราเชื่อว่าความหรูหรา (luxury) และความยั่งยืน (sustainability) เป็นสองสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นควบคู่กันได้ และผู้พัฒนาโครงการที่พักอาศัยก็ควรจะสร้างให้เกิดขึ้นควบคู่กันด้วย เราจึงจับมือกับบริษัท ไมนฮาร์ท (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อให้มาช่วยเป็นที่ปรึกษาของโครงการ 98 Wireless ดูแล ให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยไมน์ฮาร์ทยังมาช่วยดูแลในด้านของโครงสร้างภายในอาคาร ทั้งการวางระบบน้ำ ระบบไฟฟ้า ระบบลิฟต์ส่วนตัวสำหรับทุกยูนิต รวมไปถึงออกแบบ ที่จอดรถแบบซุปเปอร์คาร์เพื่อให้ตอบรับไลฟ์สไตล์ของผู้อยู่อาศัยในทุกมิติอีกด้วย”
โครงการ 98 Wireless ได้ผ่านการประเมินมาตรฐาน LEED ในเดือนกันยายน 2017 ที่ผ่านมา ภายใต้เกณฑ์การประเมิน LEED ที่มีความชัดเจนและตรงไปตรงมา โดยผ่านมาตรฐานการตรวจวัดคุณภาพใน 7 ด้านสำคัญ ได้แก่
- ความยั่งยืนของสถานที่ตั้งอาคาร (Sustainable sites)
- การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ (Water efficiency)
- การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการลดผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศโลก(Energy & Atmosphere)
- การเลือกใช้วัสดุและทรัพยากร (Material & resources)
- คุณภาพสภาพแวดล้อมภายในอาคาร (Indoor environmental quality)
- นวัตกรรมในการออกแบบ (Innovation)
- การออกแบบที่สอดคล้องกับลักษณะภูมิอากาศและภูมิประเทศท้องถิ่น (Regional priority credits)
ในการประเมินคุณภาพภายใต้มาตรฐาน LEED นั้น โปรเจคที่ขอเข้ารับการประเมินจะถูกประเมินในระบบการให้คะแนนตามหัวข้อข้างต้น ซึ่งคะแนนทั้งหมดจะนำไปสู่การคิดเป็นเรทติ้งตามสัดส่วนในแต่ละหัวข้อ สำหรับโครงการคอนโดมิเนียม “98 Wireless” จุดเด่นที่ทำให้โครงการนี้กลายเป็นโครงการที่พักอาศัยโครงการแรกที่ผ่านการรับรอง LEED นั้นก็ด้วยเหตุผลสำคัญหลายประการ อาทิ
- ความยั่งยืนของสถานที่ตั้งอาคาร (Sustainable sites)
เริ่มตั้งแต่การเลือกสถานที่ตั้งอาคารที่แวดล้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการอยู่อาศัย ทั้งยังสะดวกต่อการเดินทาง และในโครงการยังมีการจัดพื้นที่จอดรถจักรยานเพื่อส่งเสริมให้ผู้พักอาศัยมีสุขภาวะที่ดีและลดการบริโภคพลังงาน เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการเดินทางของผู้อยู่อาศัยในโครงการอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีพื้นที่โล่ง (Open Space) มากกว่าที่กฎหมายไทยกำหนดราว 25%
- การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ (Water efficiency)
ในทุก ๆ อุปกรณ์ที่มีการใช้น้ำภายในอาคารตั้งแต่ก๊อกน้ำในห้องน้ำและห้องครัว ฝักบัว โถปัสสาวะ สุขภัณฑ์ ฯลฯ ซึ่ง LEED วางมาตรฐานให้อาคารที่ได้รับการรับรองต้องประหยัดน้ำมากกว่ามาตรฐานอาคารทั่วไปอย่างน้อย 20% ซึ่งในกรณีนี้ 98 Wireless ผ่านมาตรฐานของ LEED ได้อย่างชัดเจน เพราะสุขภัณฑ์ในห้องน้ำของโครงการ 98 Wireless สามารถประหยัดน้ำได้มากกว่ามาตรฐานถึง 31%
- คุณภาพอากาศในอาคาร (Energy & Atmosphere)
LEED ยึดมาตรฐาน ASHRAE 62.1 ในออกแบบระบบไหลเวียนอากาศในอาคาร ทุกพื้นที่ ที่มีผู้ใช้งานพักอาศัยหรือทำงาน จะต้องมีการเติมอากาศบริสุทธิ์เข้าพื้นที่โดยตรงและให้มีปริมาณเพียงพอตามเกณฑ์ โครงการ 98 Wireless จึงติดตั้งเครื่องเติมอากาศบริสุทธิ์ในห้องพักทุก ยูนิต รวมทั้งพื้นที่ส่วนกลาง โดยอากาศภายนอกที่มีทั้งมลภาวะ อุณหภูมิที่สูง และความชื้น จะต้องผ่านเข้าเครื่องเติมอากาศจะถูกกรองโดยแผ่นกรองอากาศประสิทธิภาพสูง และมีการลดอุณหภูมิโดยวิธี Energy Recovery Ventilator (ERV) ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนความเย็น กับอากาศที่มาจากพัดลมดูดอากาศในห้องน้ำ (โดยไม่ได้ผสมกัน) ซึ่งอากาศจากในยูนิตนั้นจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าอากาศภายนอก ทำให้อากาศมีความสะอาดกว่าการเปิดหน้าต่างรับอากาศโดยตรงและสิ้นเปลืองพลังงานในการปรับอากาศน้อยกว่าเครื่องเติมอากาศแบบทั่วไป
- การเลือกใช้วัสดุและการบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ในการก่อสร้างอย่างมีประสิทธิภาพ (Material & resources)
โครงการ 98 Wireless มีการจัดถังขยะแบบแยกประเภทขยะโดยเฉพาะขยะรีไซเคิลไว้ภายในอาคารเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้พักอาศัยรู้จักคัดแยกขยะด้วย นอกจากนั้น ในช่วงเวลาของการก่อสร้าง 98 Wireless ยังมีการบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้จากการก่อสร้างอย่างมีประสิทธิภาพ โดยส่งต่อวัสดุเหลือใช้มากกว่า 1,070 ตัน หรือกว่า 87% ของวัสดุเหลือใช้จากการก่อสร้างทั้งหมดให้กับผู้รับซื้อวัสดุรีไซเคิล ส่วนวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างนั้น 98 Wireless เลือกใช้ทั้งวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ และวัสดุก่อสร้างที่ผลิตขึ้นภายในประเทศไทย ในสัดส่วน 10% และ 21% ของต้นทุนการก่อสร้างตามลำดับ ความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการวัสดุต่าง ๆ อย่างสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดนี้ช่วยให้โครงการลดการใช้วัสดุใหม่ ลดขั้นตอนการผลิต การขนส่ง เรื่อยไปจนถึงขั้นตอนการกำจัดวัสดุเหลือใช้ ทั้งยังช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจภายในประเทศได้อีกด้วย
- การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพภายในตัวอาคาร (Indoor environmental quality)
การประหยัดพลังงานในอาคารถือเป็นหัวใจหลักของอาคารเขียว นอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายทางพลังงานแล้ว ยังช่วยลดภาระการผลิตพลังงานของโรงไฟฟ้ารวมไปถึงผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิตไฟฟ้าอีกทางหนึ่ง ซึ่ง 98 Wireless สำหรับลดการสิ้นเปลืองพลังงานได้ราว 15.5% เมื่อเทียบกับอาคารมาตรฐาน ASHRAE 90.1-2007 สำหรับเหตุผลสำคัญที่ทำให้ 98 Wireless สามารถลดการสิ้นเปลืองพลังงานได้มากกว่าอาคารอื่น ๆ ได้แก่
- ระบบการปรับอากาศ: โครงการ 98 Wireless ใช้ระบบทำความเย็นแบบ Variable Refrigerant Flow system หรือ VRF เพื่อทำให้อากาศบริสุทธิ์จากวิธี ERV เย็นลง ก่อนจะนำอากาศนี้ส่งผ่านเข้ามายังพื้นที่พักอาศัย ระบบ VRF ยังสิ้นเปลืองพลังงานน้อยกว่าระบบการทำความเย็นแบบ AC ที่ใช้กันทั่วไป เพราะระบบ VRFมีการปรับการไหลของน้ำยาแอร์ตามภาระความเย็น (cooling load) ในขณะนั้นได้ ในขณะที่ระบบ AC เป็นการตัดการทำงานแบบออนและออฟ การใช้ VRF จึงทำให้ลดการสิ้นเปลืองพลังงานในการทำความเย็นมากกว่า
- ระบบการทำน้ำร้อนภายใน: ความร้อนสูญเปล่าที่เกิดจากระบบทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ ตามปกติจะใช้พัดลมในการระบายความร้อนออกไป แต่สำหรับโครงการ 98 Wireless นั้น ความร้อนดังกล่าวจะถูกนำไปทำความร้อนให้กับเครื่องทำน้ำอุ่นภายในยูนิต กล่าวคือ เมื่อมีการใช้เครื่องปรับอากาศภายในห้องพัก ผู้พักอาศัยจะได้น้ำอุ่นมาใช้งานได้โดยเสียค่าไฟฟ้าในการผลิตน้ำอุ่นน้อยมากหรืออาจจะไม่เสียเลย
- การออกแบบเชิงนวัตกรรม (Innovation)
นอกเหนือไปจากการออกแบบที่เหนือกาลเวลาด้วยสถาปัตยกรรมภายนอกแบบโบซาร์ และการออกแบบตกแต่งภายในที่หรูหราแต่ยังให้ความรู้สึกอบอุ่น โครงการ 98 Wireless ยังมีการนำนวัตกรรมในการออกแบบและนวัตกรรมเพื่อการอยู่อาศัยมาใช้ในโครงการ อาทิ EV Charger สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า มีการจัดพื้นที่จอดรถพิเศษสำหรับรถยนต์ประหยัดพลังงาน เป็นต้น เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้เกิดความยั่งยืนที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นอีกด้วย
- การออกแบบที่สอดคล้องกับลักษณะภูมิอากาศและภูมิประเทศท้องถิ่น (Regional priority credits)
โครงการ 98 Wireless ตั้งอยู่บนทำเลใจกลางกรุงเทพฯ ที่สะดวกต่อการเดินทางเพราะใกล้กับระบบขนส่งสาธารณะ รายล้อมไปด้วยสวนสีเขียวรวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อาทิ ศูนย์การค้า สำนักงาน โรงเรียน ธนาคาร และสถานที่ออกกำลังกาย ซึ่งทั้งหมดอยู่ในรัศมี ที่สามารถเดินไปได้ ทำให้ช่วยลดการใช้รถยนต์ ทั้งยังมีการคำนึงถึงการออกแบบและการบริหารบริเวณรอบโครงการอย่างยั่งยืน
นายอุทัย กล่าวปิดท้ายว่า “การที่โครงการ 98 Wireless ได้รับรองมาตรฐาน LEED นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี และเป็นการตีนิยามความลักชัวรี่ในมิติใหม่ เพราะในอดีตความลักชัวรี่นั้นประกอบไปด้วยการดีไซน์ การตกแต่ง การเลือกใช้แบรนด์ที่มีคุณภาพและมาตรฐานเทียบเท่าระดับโลก รวมถึงการบริการที่เหนือระดับ แต่ในปัจจุบัน ความลักชัวรี่ควรจะมีมิติในด้านความยั่งยืนควบคู่ ไปด้วย เพราะนอกจากช่วยให้โครงการที่พักอาศัยนั้นๆ มีความพร้อมสำหรับการอยู่อาศัย ในทุกมิติแล้ว ยังตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภคในปัจจุบันโดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่มุ่งหา นวัตกรรมการอยู่อาศัยใหม่ๆ หรือมาตรฐานการรับรองเพื่อความยั่งยืนอีกด้วย ซึ่งในอนาคต แสนสิริมีแผนที่จะพัฒนาโครงการอื่นๆ ให้ได้รับรองมาตรฐานเช่นเดียวกัน และหวังว่าในอนาคตอันใกล้ จะมีอาคารที่พักอาศัยและอาคารประเภทอื่น ๆ ผ่านมาตรฐาน LEED เพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นข้อพิสูจน์ว่า ผู้ประกอบการในบ้านเราให้ความสำคัญกับการประหยัดพลังงานและการรักษาสิ่งแวดล้อมไม่แพ้ผู้ประกอบการในประเทศอื่นๆ”