เจาะเทรนด์อยู่อาศัยของกลุ่มมิลเลนเนียล
คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ใช้ชีวิตคล่องตัวด้วยเทคโนโลยี ใส่ใจดูแลสุขภาพ
ปัจจุบันคนยุคมิลเลนเนียลกลายเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับโลก และยังเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของตลาดการอยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม สถานการณ์และผลกระทบจากวิกฤตทางด้านการเงินระดับโลกได้ส่งผลให้กำลังในการซื้อของกลุ่มคนยุคมิลเลนเนียลยังไม่เข้มแข็งเท่ากลุ่มเบบี้บูมเมอร์ ทำให้คนรุ่นใหม่มิลเลนเนียลมีแนวโน้มในการซื้อบ้านช้ากว่า และเป็นที่มาของเทรนด์ใหม่ในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยที่เรียกว่า “สร้างเพื่อเช่า”
ภาคธุรกิจที่อยู่อาศัยจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกที่อยู่อาศัยของกลุ่มมิลเลนเนียลมากที่สุด โดยสิ่งสำคัญที่สุดที่ส่งผลต่อการพิจารณาของคนกลุ่มนี้คือการผสมผสานระหว่างความยั่งยืนและความสะดวกสบาย ที่ผ่านมา โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ลงทุนด้านการเชื่อมต่อและความยั่งยืนมักจะกำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้ซื้อที่ต้องการลงทุนในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน บริษัทผู้พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยจะต้องลงทุนรูปแบบเดียวกันกับโครงการ “สร้างเพื่อเช่า” เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เช่ายุคใหม่
เมื่อความสะดวกสบายมาบรรจบกับความยั่งยืน
คนยุคมิลเลนเนียลเป็นกลุ่มที่มีลักษณะพิเศษเนื่องจากเกิดและเติบโตมาในยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว ดังนั้น การใช้อุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ จึงเป็นส่วนสำคัญในชีวิตของพวกเขา และไม่น่าแปลกใจที่ 92 เปอร์เซ็นต์ของคนรุ่นนี้เป็นผู้ใช้งานสมาร์ทโฟน ความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีดิจิทัลของคนกลุ่มนี้ยังรวมถึงการพัฒนาของเทคโนโลยีภายในบ้าน[1] นอกจากนี้ คนกลุ่มนี้ยังให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจากพวกเขาคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่ากลุ่มคนยุคก่อน จากรายงานความยั่งยืนขององค์กรระดับโลกโดยนีลเส็น (Nielsen’s Global Corporate Sustainability Report) ระบุว่า 66 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบคำถามทั่วโลกกล่าวว่าพวกเขายินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อซื้อสินค้าและบริการที่มาจากบริษัทที่มีความมุ่งมั่นในการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม[2]
สมาร์ทโฮมคือบ้านที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมการเชื่อมต่อที่เรียกว่า Internet of Things (IoT) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อุปกรณ์เกี่ยวกับระบบแสง อุปกรณ์การทำความร้อน เครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์ด้านการรักษาความปลอดภัย และอุปกรณ์อื่นๆ โดยข้อมูลการใช้งานจะถูกจัดเก็บและนำมาใช้เพื่อการประมวลผลโดยอัตโนมัติเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมภายในบ้าน การบริหารจัดการเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน การควบคุมการเข้าถึงพื้นที่ภายในบ้าน เป็นต้น โดยเทคโนโลยี IoT จะเรียนรู้รูปแบบการใช้งาน ประมวลผลข้อมูลนั้น และควบคุมการใช้พลังงานของผู้บริโภคอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการสิ้นเปลืองพลังงานโดยอัตโนมัติ
การรับรองคุณภาพด้วยการประเมินค่าคุณภาพของสภาพแวดล้อมในอาคารและคุณภาพอากาศ
องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่ามลพิษในอากาศและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาที่มีผลกระทบอย่างรุนแรงจาก “10 ภัยคุกคามที่ส่งผลต่อสุขภาพของคนทั่วโลกในปี พ.ศ.2562” นอกจากนี้ ข้อมูลการวิจัย “การพัฒนาแผนการรับรองคุณภาพของสภาพแวดล้อมภายในอาคาร” ตีพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งเดนมาร์ค (Technical University of Denmark: DTU) สื่อถึงการประเมินค่าคุณภาพของสภาพแวดล้อมในอาคาร (Indoor Environmental Quality หรือ IEQ) ซึ่งเกี่ยวข้องกับคุณภาพอากาศภายในอาคาร (Indoor Air Quality หรือ IAQ) ระดับเสียง และระดับแสงของการตกแต่งภายใน เป็นสิ่งที่กลุ่มมิลเลนเนียลผู้รักสุขภาพให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น[3]
โซลูชั่นเครื่องปรับอากาศภายในบ้านของแอลจี HVAC เพื่อกลุ่มมิลเลนเนียล
กลุ่มสินค้าระบบปรับอากาศ Multi V ของแอลจี สามารถให้ความเย็น ทำความร้อน และน้ำร้อนได้ในเครื่องเดียวได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้สารทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คอมเพรสเซอร์ Ultimate Inverter ของ Multi V มาพร้อมประสิทธิภาพในการทำงานที่ทรงพลังยิ่งขึ้น แต่ใช้พลังงานลดลง โดยระบบปรับอากาศดังกล่าวสามารถปรับการทำงานให้เหมาะสมกับสภาพอากาศและเพิ่มการหมุนเวียนของอากาศภายในอาคารโดยใช้พลังงานน้อยลง ในขณะเดียวกัน เทคโนโลยีเซ็นเซอร์ภายในระบบปรับอากาศช่วยปรับคุณภาพของสภาพอากาศภายในอาคารได้อย่างเหมาะสม โดยการควบคุมด้วยระบบ Dual Sensing และเป็นฟังก์ชั่นการควบคุมที่สามารถตรวจจับอุณหภูมิและความชื้นไปพร้อมกัน เพื่อสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งานได้มากที่สุด
กลุ่มสินค้าระบบเครื่องปรับอากาศภายในบ้านดังกล่าวประกอบด้วยระบบสมาร์ทโฮมผ่านการเชื่อมต่อ LG ThinQ ซึ่งเป็นระบบการจัดการอัจฉริยะของแอลจีที่มอบความสะดวกสบายและการใช้งานที่มีประสิทธิภาพแก่ผู้ใช้ เช่น การเข้าถึงจากระยะไกลทำให้สามารถใช้งานได้ง่าย และการตรวจสอบการใช้พลังงาน นอกจากการจัดการระบบ เครื่องปรับอากาศภายในอาคาร แล้ว LG ThinQ ยังเชื่อมต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเข้าหากัน เพื่อมอบโซลูชั่นที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้ นอกจากนี้ ผู้ใช้ยังสามารถตรวจสอบข้อมูลการใช้พลังงานแบบสะสมในปัจจุบัน รายสัปดาห์ และรายเดือนได้ ซึ่งการตรวจสอบข้อมูลการใช้งานเหล่านี้ทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมอุปกรณ์การทำความร้อนและปรับอากาศตามสภาพอากาศภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่าย
[1]แผนผังการตลาด “Tech Update: Mobile & Social Media Usage, by Generation” แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2561 นำข้อมูลมาใช้เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2563 https://www.marketingcharts.com/Demographics-and-audiences-83363
[2] รายงาน “GREEN GENERATION: MILLENNIALS SAY SUSTAINABILITY IS A SHOPPING PRIORITY” โดยนีลเส็น แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2558 นำข้อมูลมาใช้เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2563 https://www.nielsen.com/uk/en/insights/article/2015/green-generation-millennials-say-sustainability-is-a-shopping-priority/
[3] ดา ซิลวา นูโน อเล็กแซนเดอร์ ฟาเรีย การพัฒนาแผนการรับรองและคุณภาพของสภาพแวดล้อมภายในอาคาร