เวทีอาสาแนะรัฐพัฒนาประเทศก่อนตกยุค เร่งดัน“อีอีซี”นำร่องพัฒนาเพิ่มขีดแข่งขัน

เวทีอาสาแนะรัฐพัฒนาประเทศก่อนตกยุค

เร่งดันอีอีซีนำร่องพัฒนาเพิ่มขีดแข่งขัน

เวทีเสวนาปรับบ้านปรุงเมือง ชี้ชัดประเทศต้องเร่งแผนพัฒนาประเทศที่เป็นรูปธรรม แนะรัฐผลักดันอีอีซีนำร่องการพัฒนา “อุตตมเผยล่าสุดพ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกผ่านสนช.วาระพร้อมเดินหน้าเต็มที่รัฐเร่งผลักดัน เมกะโปรเจคชี้นำการพัฒนาเข้าพื้นที่ภาคตะวันออก

สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดเวทีสัมมนา   ASA Real Estate Forum 2018 ภายใต้แนวคิด “ปรับบ้าน ปรุงเมือง” ร่วมมือกับบริษัท อัลติเมท พร๊อพเพอร์ตี้ อินไซท์   โดยระดมผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาด้านต่างๆ มาอัพเดทความคืบหน้าการพัฒนาเพื่อนำประเทศให้พร้อมสู่การแข่งขัน โดยหัวข้อแรกกล่าวถึง ประเทศไทยขั้วเศรษฐกิจใหม่ของโลกว่าไทยต้องมีจุดยืนและเตรียมพร้อมสาธารณูปโภคเพื่อการแข่งขันกับนานาประเทศได้

          ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรร ประธานคณะกรรมการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซีกล่าวว่า ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการพัฒนา ซึ่งตัวเลขเศรษฐกิจหลายอย่างเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น มีความพร้อมสู่การปรับเปลี่ยนและแก้ปัญหา หากดูจากตัวเลขการส่งออกปี 2560 พบว่าเติบโตถึง10% และดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมสูงถึง 90 ซึ่งสูงสุดใน 35 เดือน นอกจากนี้เรายังมีโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งมีความคืบหน้าชัดเจน โดยล่าสุดเมื่อวันที่ ก.พ. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ได้ผ่านการพิจารกฎหมาย พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก วาระ จะทำให้การพัฒนาอีอีซีเดินหน้าและมีหมวดหมู่การพัฒนาที่ชัดเจน ซึ่งโครงการนี้เน้นพัฒนาส่งเสริมจากของเดิมที่อยู่ในพื้นที่ ทำให้ต่อยอดการพัฒนาได้เป็นอย่างดี ซึ่งการพัฒนาอีอีซีจะต้องมีกองทุนอีอีซี เข้ามาดูแลการพัฒนาอย่างรอบด้าน ทั้งเรื่องสาธารณสุข การศึกษา โดยต้องดูแลภายใต้กฎหมายการพัฒนาพื้นที่

          โลกวันนี้มันเปลี่ยนไปมาก ประเทศไทยจำเป็นต้องวางแผนและมีโครงการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม จึงจะมีขีดความสามารถในการแข่งขัน” ดร.อุตตม ย้ำและว่าทุกวันนี้ประเทศต้องวางแนวทางการพัฒนาด้วยความร่วมมือจากทุกฝ่ายเพื่อนำไปสู่ขีดความสามารถในการแข่งขัน เพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนเร็ว ถ้าเราตามไม่ทันหรือไม่มีเทคโนโลยีต้นทุนประเทศจะสู้ประเทศอื่นไม่ได้ เป็นความท้าทายเราจะตกขอบหรือจะเป็นหนึ่งในนั้น และสิ่งที่ประเทศไทยเป็นอยู่ขณะนี้ แม้จะมีการเติบโตแต่ก็เป็นการเติบโตแบบเปรี้ยๆ เพราะเรามีปัญหาที่สะสมมานานเป็นตัวบั่นทอน ดังนั้นการพัฒนาวันนี้ต้องกำหนดแผนชัดเจนว่า เราต้องการไปจุดไหนรู้ว่าจะไปอย่างไรต้องมีโรดแมพที่ชัดเจน ต้องรู้ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร เราต้องเลือกและต้องทำร่วมกัน ประสานช่วยกันเป็นยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แก้ปัญหาสะสมมานาน วางรากฐานแก้ปัญหาและร่วมกันผักดันประเทศไทยสู่ไทยแลนด์ 4.0 เป็นโรดแมพที่ลงปฏิบัติในแต่ละเรื่องให้จับต้องได้ 
          การพัฒนาต้องเดินหน้าอย่างทั่วถึง แม้เศรษฐกิจปากท้องดีค้าขายได้รายได้ดี แต่ถ้าเกษตรกรยังลำบากการจะปรับบ้านปรุงเมืองก็ทำไม่ได้เมื่อปัญหายังกระจุกตัวเราต้องวางแผนพัฒนาและแก้ปัญหาไปด้วยพร้อมๆ กัน โครงการพัฒนาอีอีซีจึงมี โครงการพื้นฐานส่งเสริมการพัฒนาให้เห็นเป็นรูปธรรมภายในปีนี้ ซึ่งก็จะเป็นโครงการร่วมทุนแบบพีพีพี ที่ลดระยะเวลาให้เหลือ 10 เดือน ทำให้ปีนี้มีการขับเคลื่อนอีอีซีที่ชัดเจนช่วยกันคิดสร้างสิ่งใหม่ๆในอีอีซี 
ต่อยอดพัฒนาอีสเทิร์นซีบอร์ดเฟสสอง

            ดร.ปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) กล่าวว่า อีอีซี เป็นโครงการที่เกิดขึ้นในรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งจะต้องเดินหน้าต่อไป เพราะโครงการนี้ถือเป็นการพัฒนาอีสเทิร์นซีบอร์ดเฟสสอง หลังจากเราพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกจนเป็นแหล่งอุตสาหกรรมสำคัญมแล้ว โครงการนี้ต้องเชื่อมโยงกับโจทย์การพัฒนาประเทศเรื่องเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งท่านรองนายกสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ พยายามผลักดันแนวคิดอีอีซี ให้เกิดเป็นรูปธรรมเป็นแหล่งลงทุนใหม่ ทำให้ใหญ่ขึ้นเพิ่มเติมการพัฒนาต่างๆ รองรับไม่ว่าจะเป็นสนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังที่มีอยู่เดิมพัฒนาให้ใหญ่ขึ้น

โครงการพัฒนาอีอีซีนอกจากช่วยพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออก ยังเชื่อมโยงการพัฒนาพื้นที่ใกล้เคียง และเชื่อมโยงไปถึงการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันตกเวสเทิร์นคอลิดอร์ด้วยเส้นทางเชื่อมโยงทวาย ด้วยโครงการมอเตอร์เวย์เมืองกาญจนบุรี เป็นคอลิดอร์ใหญ่ของภูมิภาคต่อเนืองโครงการเวสเทิร์นคอลิดอร์ แม่สอด สุโขไทย ภาคเหนือ ที่จะไปเชื่อมโยงโครงการวันเบลท์วันโรดของจีนด้วย ซึ่งเสน่ห์ของอีอีซีและผลต่อเนื่อง เป็นโจทย์สำคัญที่รัฐต้องการสร้างรายได้สูงขึ้นซึ่งอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาค กล่าวว่า เส้นทางการพัฒนาเศรษฐกิจแยกกันไม่ออกกับเรื่องโลจิสติกและคมนาคมท ในปัจจุบันเมื่อจีนเสนอทฤษฏีสองมหาอำนาจเสนอวันเบลท์วันโรดไทยก็ต้องพัฒนาเกาะติดแนวเส้นทางนี้ให้ได้เช่นกัน

สิ่งสำคัญอีกประการ ดร.ไพรินทร์ กล่าวว่ารัฐต้องพัฒนาระบบคมนาคมต้องคัดเลือกโครงการต่างๆ ให้ได้ภายในปีนี้ทั้งหมดไม่ว่าท่าเรือแหลมฉบัง หรือการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาให้แล้วเสร็จ ที่ผ่านมามีผู้ยืนขออีอีซีมาแล้ว แสนล้านบาท หากทำได้เราจะเห็นภาพความเปลี่ยนแปลง แต่เรายังติดปัญหาการเวรคืน ต่างกับหลายประเทศซึ่งใช้พ.ร.บ.จัดรูปที่ดินช่วยให้การพัฒนาสะดวก บ้านเราอาจต้องหันมาดูกฎหมายนี้ในการพัฒนา เพราะเป็นกฎหมายที่ท้องถิ่นเป็นผู้กำหนด จึงไม่มีปัญหาจะลดปัญหาคนได้และเสียในเจ้าของที่ดิน จะทำให้รัฐจะซื้อที่ดินได้ทั้งผืนและนำมาออกแบบจัดใหม่

นางพจนีย์ อรรถโรจน์ภิญโญ รองเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) ล่าสุดมีมูลค่าการลงทุน 2.9 แสนล้านบาท ใช้ระบบการเชื่อมโยงเป็นพื้นที่นำร่องไทยแลนด์ 4.0 พัฒนาพื้นที่ จังหวัด ด้วยโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม สนามบิน เชื่อมโยงการคมนาคมการขนส่งต่างๆ ให้สะดวก และมองเรื่องการพัฒนาคนในพื้นที่ มีการทำงานร่วมกระทรวงศึกษาธิการ ถ้าทุกโครงการทำได้ตามแผนศรษฐกิจในพื้น การท่องเที่ยวจะเติบโต และทำรายได้ให้ประเทศไทยได้ยั่งยืน

ส่วนการพัฒนาเรื่องน้ำมีการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือ ถ้าทำได้ตามเป้าจะมีน้ำใช้ถึงปี 2569 คณะกรรมการน้ำจะมาพิจารณาทำแผนใหม่ในรายละเอียด ส่วนเรื่องพลังงานกระทรวงพลังงานเชิญหน่วยงาหารือตัวเลขการผลิตไหห้ามากกว่าปริมาณการใช้ แม้จะมีอีอีซีและท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่ ยืนยันว่าไม่มีปัญหาสามารถบริหารจัดการได้