5 เรื่องต้องรู้! หากปรับบ้านเพื่อวัยเก๋า
เมื่อประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงวัยเต็มรูปแบบ หลายสิ่งหลายอย่างจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลง “บ้าน” ถือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ต้องได้รับการปรับปรุงให้เหมาะกับการอยู่อาศัยของคนหลากหลายวัย เพื่อให้ทุกคนในบ้านได้อยู่ร่วมกันได้อย่างสะดวกสบาย ใครที่กำลังเจอปัญหามืดแปดด้าน ไม่รู้จะออกแบบปรับปรับบ้านอย่างไรให้เหมาะสม มี 5 เรื่องต้องรู้ หากปรับบ้านเพื่อวัยเก๋า หรือกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเน้นหลักไปที่ “ความปลอดภัย และสุขภาวะที่ดี” มาฝากกัน
1.สำรวจร่างกายและสุขภาพของผู้อยู่อาศัย ตามลักษณะทางกายภาพ และสมรรถนะทางร่างกายในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ แบ่งได้เป็น 3 ระดับ ระดับที่ 1 ผู้สูงอายุที่สามารถใช้ชีวิตทั้งในบ้านและนอกบ้านได้ปกติ แต่มีความเสี่ยงจะเกิดปัญหาด้านสุขภาวะในอนาคต รวมถึงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน ระดับที่ 2 ผู้สูงอายุที่เริ่มมีความเสื่อมถอยของร่างกาย หรือมีปัญหาสุขภาพเล็กน้อย แต่ยังช่วยเหลือตัวเองได้โดยพึ่งอุปกรณ์หรือผู้ช่วยในบางครั้ง ระดับที่ 3 ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสุขภาพ จนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในบางกิจกรรม ต้องพึ่งอุปกรณ์และผู้ดูแลให้ความช่วยเหลือ
2.สำรวจสภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัย ว่าเอื้อต่อสภาพร่างกายของผู้สูงอายุหรือเปล่า มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุหรือไม่ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่มาก ๆ ของผู้สูงวัย เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานและเหมาะสมกับผู้สูงอายุ จากคำแนะนำผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากสภาวะร่างกายของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทำให้อุปกรณ์และระยะการติดตั้งที่เหมาะกับการใช้งานของแต่ละคนมีความแตกต่างกันด้วย
3.รับการออกแบบและปรับปรุงบ้านโดยทีมผู้เชี่ยวชาญ หรือ Personalized Design Consultant ที่ช่วยให้ความรู้ คำปรึกษา และออกแบบพื้นที่ต่าง ๆ เช่น ห้องนอน ห้องน้ำ หรือพื้นที่ใช้สอยต่าง ๆ ตามรูปแบบการใช้ชีวิตสำหรับผู้สูงวัยให้สะดวกสบายและปลอดภัยมากที่สุด ซึ่งที่ SCG Experience มีบริการครบตั้งแต่ให้คำปรึกษา ออกแบบ ไปจนถึงการติดตั้ง ครบ จบในที่เดียว ช่วยให้การปรับปรุงบ้านเพื่อรองรับการใช้ชีวิตของคุณไม่ใช่เรื่องยาก ทั้งยังมีสินค้าจากในและต่างประเทศที่เหมาะสำหรับผู้สูงวัยจำหน่ายด้วย
4.จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม โดยสิ่งที่ควรคำนึงถึงก็คือ ความปลอดภัย ใช้งานง่ายและสะดวกสบาย เช่น พื้นที่ทั่วไปภายในบ้าน ควรติดตั้ง ราวจับทรงตัว ไว้ตามจุดต่าง ๆ เพื่อช่วยพยุงตัวระหว่างเดิน ลดความเสี่ยงในการหกล้ม วัสดุปูพื้นควรเลือกใช้แบบที่มีพื้นผิวเรียบแต่ไม่ลื่น มีความนุ่มแต่ไม่ยวบ สามารถช่วยลดแรงกระแทกได้ และให้ผู้สูงอายุทรงตัวได้ดีขณะเดิน ขณะที่ ห้องนอน ควรมีขนาดพื้นที่กว้างขวางพอสำหรับพักผ่อนและทำงานอดิเรก อยู่ใกล้ห้องน้ำหรือมีห้องน้ำในตัว มีหน้าต่างในขนาดและระดับที่เหมาะสมให้มองเห็นทิวทัศน์ด้านนอกชัดเจนและรับแสงธรรมชาติได้ เพิ่มความปลอดภัยด้วยการติดตั้งไฟอัตโนมัติพร้อมเซ็นเซอร์ บริเวณเตียงและตามทางเดิน เป็นต้น นอกจากนี้การออกแบบพื้นที่ภายในบ้าน อาจจะต้องออกแบบสำหรับรถเข็น และการวางแปลช่วยเหลือหากเกิดอุบัติเหตุหกล้มในห้อง
5.พื้นที่ภายนอก เราสามารถจัดสรรพื้นที่ภายนอกบ้านเพื่อช่วยสร้างความรู้สึกผ่อนคลายและกระตุ้นให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีชีวิตชีวาได้ด้วยการทำกิจกรรมเบา ๆ อย่างเช่น การทำสวน โดยเลือกใช้ สวนแนวตั้ง ที่ดูแลรักษาง่าย และเลือกปลูกพรรณไม้ที่มีสีสันหรือมีกลิ่นหอม พื้นทางเดินภายนอก ควรเป็นพื้นระดับเดียว มีความเรียบสม่ำเสมอกันทั้งผืน และควรเลือกใช้วัสดุพื้นซึ่งไม่ลื่นและช่วยลดแรงกระแทก หากเกิดการล้มหรืออุบัติเหตุก็จะช่วยบรรเทาความรุนแรงได้ อย่าลืมติดตั้งราวจับทรงตัวและเตรียมพื้นที่สำหรับนั่งพักด้วย ติดตั้งราวจับทรงตัว ช่วยอำนวยความสะดวกในการเดิน เป็นการสร้างแรงกระตุ้นในการใช้ชีวิตให้ผู้สูงอายุได้ฝึกเดิน เพื่อสร้างความมั่นใจที่ยังสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง
เพียงเท่านี้ก็สามารถปรับเปลี่ยนบ้านเดิมให้รองรับและดูแลคุณพ่อคุณแม่ผู้สูงอายุให้สามารถใช้ชีวิตในบ้านได้อย่างอิสระ พึ่งพาตนเองได้ และสามารถค่อย ๆ ปรับตัว ยอมรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างมีความสุขทั้งทางกายและจิตใจ