Foreign Exchange Reserves and Capital Repatriation
ดร.ประศาสน์ ตั้งมติธรรม ศูนย์วิจัยศุภาลัย
สิ่งที่นักลงทุนต่างประเทศในประเทศใดประเทศหนึ่งมีความห่วงใยก็คือ การนำเงินลงทุน กลับประเทศ (Capital Repatriation) ภายหลังการลงทุนเสร็จสิ้นแล้ว แต่ว่าปัญหาที่อาจเกิดขึ้นคือ รัฐบาล ของประเทศนั้นอาจไม่มีเงินสำรองระหว่างประเทศ (Foreign Exchange Reserves) เพียงพอให้นักลงทุนเปลี่ยนจากเงินตราสกุลท้องถิ่นเป็นเงินตราสกุลระหว่างประเทศเพื่อนำกลับประเทศของตน
ตัวแปรที่อาจใช้เป็นตัวชี้ความเสี่ยงที่ว่าประเทศใดประเทศหนึ่งจะมีเงินสำรองระหว่างประเทศ ให้นักลงทุนนำกลับประเทศได้หรือไม่ ก็คือ ปริมาณเงินสำรองระหว่างประเทศที่จะต้อง 1) เพิ่มขึ้นสม่ำเสมอ 2) ไม่มีความผันผวน
ในที่นี้เราใช้ปริมาณเงินสำรองระหว่างประเทศคิดเป็นจำนวนเดือนของสินค้าเข้า ซึ่งเป็นตัวชี้ขนาดเศรษฐกิจของประเทศนั้น เนื่องจากบางประเทศอาจมีเงินสำรองมากแต่ก็ต้องใช้จ่ายมากเช่นเดียวกัน ผลที่ได้แสดงไว้ในรูปกราฟ เพื่อแสดงการเปรีบเทียบศักยภาพของประเทศไทย อินโดนีเซีย กัมพูชา พม่า และเวียดนาม
รูปกราฟแสดงว่า พม่า และเวียดนาม มีความเสี่ยงสูงที่นักลงทุนอาจไม่สามารถนำเงินลงทุนกลับประเทศได้ เนื่องจากความผันผวนของปริมาณเงินสำรอง เมื่อเทียบกับเงินตราต่างประเทศที่ต้องใช้ ซึ่งอาจจะออกมาในรูปของ 1) ปริมาณเงินสำรองไม่เพียงพอ 2) การจำกัดเงินทุนออก เนื่องจากความขาดแคลนเงินสำรอง และ 3) การลดค่าเงินตราสกุลท้องถิ่นของประเทศนั้น
นักลงทุนจึงควรจะพิจารณาประเด็นดังกล่าวข้างต้นให้ดีก่อนทำการลงทุน