อสังหาฯปี 62 ปัจจัยลบยังรุมเร้า
เหนื่อยทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภค
อสังหาฯ ปีหมู ที่ไม่หมูอย่างที่คิด ปัจจัยลบรุมเร้า ผู้ประกอบการหืดขึ้นคอ สงครามการค้า ดอกเบี้ยขยับ รอเลือกตั้ง มาตรการคุมสินเชื่ออสังหาฯแบงก์ชาติคุมเข้ม การเก็งกำไร ตลาดจะไปทิศทางไหน ต้องจับตาแบบระยะประชิด
ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2562 ปีหมูที่ไม่คิดว่าจะหมูอย่างที่คิด เมื่อมองภาพรวมจากตลาดโลกก่อน ต้องย้ำว่าปัจจัยเศรษฐกิจโลก ยังไม่แน่นอนนัก เพราะสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐจะกระทบกับการเติบทางเศรษฐกิจประเทศเล็กๆอย่างเราแน่ๆ แต่จะแค่ไหนอย่างไรต้องติดตาม การขยายตัวของเศรษฐกิจที่ 4-4.5% ยังต้องมีปัจจัยเรื่องการเลือกตั้งในประเทศเป็นปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่ง ด้านการขนยับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยแน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อต้นทุนของทั้งผู้ประกอบการ ผู้บริโภค แน่นนอน รวมถึงมาตรการการคุมสินเชื่อของแบงก์ชาติที่ก็พร้อมใช้ในเมษายนนี้ ที่จะสกัดการเก็งกำไรของผุ้ซื้อบ้านหลังที่ 2 ดังนั้น เป็นใครในเวลานี้ก็คงต้องก่ายหน้าผาก เอายังงัยดี จะไปทางไหน เดินยังงัยให้รอด
ผลจากมาตรการควบคุมสินเชื่อ และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจะกระทบต่อตลาดที่อยู่อาศัยทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล และในพื้นที่ภูมิภาค โดยคาดว่าจะมีการชะลอตัวทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทาน แม้มาตรการควบคุมสินเชื่ออสังหาฯ จะเริ่มใช้เดือนเมษายน 2562 แต่ก็ทำให้เกิดการชะลอตัวการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของกลุ่มผู้ที่ต้องการซื้อบ้านหลังที่ 2 ตั้งแต่เวลานี้ จึงกล่าวได้ว่า Sentiment ของตลาดเวลานี้ไม่ค่อยเป็นใจ
ขณะที่การระดมเงินจากตลาดเงินตลาดทุนก็ย่อมมีผล จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในฝั่งผู้ประกอบการต้องเจอต้นทุนดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ราคาอสังหาฯก็ต้องบวกค่าดอกเบี้ยและต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ให้สูงขึ้นตามไปด้วย เรื่องนี้ จึงส่งผลกระทบต่อความสามารถในการผ่อนชำระของผู้ซื้อบ้านลดลงได้ เพราะต้องจ่ายดอกเบี้ยที่สูงขึ้น จึงได้วงเงินกู้น้อยลง
นอกจากนั้น แรงกระแทกจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่มีแรงกระแทกไม่แพ้กัน เทคโนโลยีเปลี่ยนเร็วและ disturb ในทุกอุตสาหกรรม ไม่เว้นแม้กระทั่งอุตสาหกรรมอสังหาฯ ก็เช่นกัน ขณะที่การควบคุมสต็อคของแต่ละบริษัทพัฒนาอสังหาฯ ก็น่าห่วง เมื่อกำลังซื้อลด ขณะที่สินค้าในตลาดมีมากกว่า ข้อมูลจากฝ่ายวิจัยคอลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล โดยเป็นข้อมูล ณ. ไตรมาส 3/2561 พบว่าบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีประมาณ 464,706 ยูนิต มูลค่าเงินลงทุน 3.3 ล้านล้านบาท จำแนกบ้านจัดสรรคิดเป็น 1.9 แสนยูนิต โดยมีมูลค่าลงทุน 9.2 แสนล้านบาท คอนโดมิเนียม 2.7 แสนยูนิต มีมูลค่าลงทุน 2.33 ล้านบาท ยังมีจำนวนยูนิตที่เหลือขาย 1.3 แสนยูนิต ด้วยมูลค่า 8.5 แสนล้านบาท แบ่งเป็นบ้านจัดสรรประมาณ 71,054 ยูนิต คิดเป็นมูลค่าลงทุนประมาณ 3.2 แสนล้านบาท คอนโดมินียม 67,959 ยูนิต คิดเป็นมูลค่าลงทุน 5.2 แสนล้านบาท
จากตัวเลขที่เห็น และอุปทานใหม่ในปีนี้ก็กำลังจะเพิ่มเข้ามาอีก หากการดูดซับซัพพลายเดิมไม่ทันกับความต้องการซื้อ แน่นอนล่ะว่า ในตลาดที่อุปทานมาก ขณะที่กำลังซื้อถูกจำกัดให้อยู่ในขอบเขตที่ลดลง อสังหาฯปีนี้จึงต้องจับตามมอง อสังหาฯ ปีนี้คงไม่หมูแน่ๆ
บทความโดย Prop Investor : Index21