ทำไมบ้านอัจฉริยะต้องมี AI
เทรนด์ของบ้านอัจฉริยะกับการนำ AI มาใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเป็นแนวคิดที่แอลจีให้ความสำคัญในอันดับต้นๆ มาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้นวัตกรรม LG ThinQ ที่เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ.2560 เมื่อแอลจีได้เปิดตัว Artificial Intelligence Lab หรือแล็บ AI ในกรุงโซลอย่างเป็นทางการเพื่อรวบรวมผลการวิจัยทั้งหมดเกี่ยวกับหลากหลายเทคโนโลยีที่มีความสามารถในการจดจำ คาดการณ์ และเรียนรู้จากเสียง วิดีโอ และเซ็นเซอร์ ซึ่งแล็บแห่งนี้มีบทบาทในการพัฒนาเครื่องปรับอากาศเครื่องแรกของโลกที่สามารถเรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่โดยรอบ เพื่อปรับการทำงานให้เหมาะสม รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะอื่นๆ ได้แก่ ตู้เย็น เครื่องซักผ้าและหุ่นยนต์ดูดฝุ่น โดยภายใต้ LG ThinQ นี้ เครื่องใช้ไฟฟ้าและบริการที่ใช้งาน AI ทั้งหมดมีความสามารถในการเรียนรู้เชิงลึกและเชื่อมต่อสื่อสารกันเองระหว่างผลิตภัณฑ์ จากการใช้งานเทคโนโลยี AI ที่หลากหลายจากพันธมิตรอื่นๆ และ DeepThinQ ซึ่งเป็นเทคโนโลยี AI ของแอลจีเอง
ในปี พ.ศ.2561 แอลจีตอกย้ำความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคภายใต้ปรัชญา “แพลทฟอร์มแบบเปิดรับ ความร่วมมือแบบเปิดรับ และการเชื่อมต่อแบบเปิดรับ” (“open platform, open partnership and open connectivity”) ด้วยการพัฒนาเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ผ่านเทคโนโลยี AI แบบเปิดรับ เช่น การสร้างสรรค์แพลทฟอร์มที่มีความยืดหยุ่นในการทำงาน การพัฒนาการใช้งาน AI ร่วมกับพันธมิตร ได้แก่ Google Assistant และ Amazon Alexa และการเชื่อมต่ออย่างไร้ขีดจำกัดระหว่างผลิตภัณฑ์ เพื่อมอบผู้บริโภคสามารถควบคุมการใช้งานได้ยิ่งขึ้น และความสะดวกสบายยิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งต่อมาถูกพัฒนาเป็นแนวคิด “พัฒนา-เชื่อมต่อ-เปิดรับ” (Evolve, Connect, Open) ในปี พ.ศ. 2562 โดยเสริมศักยภาพของเทคโนโลยี AI เพื่อเปลี่ยนทุกมุมของชีวิต ด้วยการเรียนรู้พฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถเชื่อมต่อเข้ากับชีวิตของพวกเขาได้อย่างไร้รอยต่อ และเปิดโอกาสไปสู่ระบบนิเวศแห่งนวัตกรรมที่แข็งแกร่งขึ้นผ่านความร่วมมือต่างๆ
ในปัจจุบัน แอลจียังคงมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงอนาคต โดยให้ความสำคัญกับประสบการณ์ที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการใช้งาน AI ที่แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ประสิทธิภาพ (Efficiency) ที่เกิดจากการที่อุปกรณ์ชิ้นใดชิ้นหนึ่งหรือฟังก์ชั่นของระบบใดระบบหนึ่งถูกควบคุมผ่านช่องทางเดียวได้ เช่น ผ่านระบบการจดจำเสียง ระดับที่สองคือการปรับประสิทธิภาพการทำงานให้เหมาะสมกับความต้องการส่วนบุคคล (Personalization) ผ่านการเรียนรู้รูปแบบพฤติกรรมต่างๆ เพื่อปรับฟังก์ชั่นการทำงานของอุปกรณ์ให้เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ระดับที่สามคือ การใช้เหตุผล (Reasoning) ในการสังเกตถึงสาเหตุของการเกิดรูปแบบการใช้งานและพฤติกรรมต่างๆ เพื่อคาดการณ์และนำเสนอผลลัพธ์ เชิงบวกให้กับผู้ใช้ และระดับสุดท้ายกับการสำรวจ (Exploration) ซึ่งถือเป็นเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนา AI ของแอลจี โดยเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้แบบทดลองในเชิงวิทยาศาสตร์ ระบบต่างๆ ที่ถูกขับเคลื่อนโดย AI จะสามารถพัฒนาความสามารถใหม่ๆ ผ่านการสร้างและทดสอบสมมติฐานต่างๆ นำไปสู่ข้อสรุปใหม่ๆ เปิดโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับการใช้ชีวิตของผู้บริโภค สอดคล้องกับสโลแกน ‘Innovation for a Better Life’ ของแอลจี
บ้านอัจฉริยะของแอลจีจึงเน้นการนำนวัตกรรมอันล้ำสมัยของ LG ThinQ ที่เชื่อมต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านต่างๆ ผ่านเทคโนโลยี AI เสริมการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลอย่างชาญฉลาดยิ่งขึ้น เริ่มจาก LG Smart Door ที่ยืนยันตัวตนของผู้ใช้ผ่านระบบการจดจำใบหน้า ควบคู่กับระบบการยืนยันตัวตนด้วยเส้นเลือดดำ ลำโพงอัจฉริยะที่สามารถใช้งานร่วมกับ Google Assistant และ Alexa เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง (Hub) ในการควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านผ่านการสั่งงานด้วยเสียงได้อย่างสะดวกสบาย เครื่องซักผ้าแอลจีระบบ AI DDTM ที่ช่วยคำนวณวงจรการซักที่เหมาะสมด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะเนื้อผ้า และยังสามารถสั่งงานล่วงหน้าผ่านอินเทอร์เน็ต ตู้เย็น InstaView Door-in-Door™ ที่สามารถตรวจสอบวันหมดอายุของอาหารสดแต่ละชนิดภายในตู้เย็น พร้อมนำเสนอสูตรอาหารต่างๆ ที่ประกอบด้วยวัตถุดิบนั้นๆ และยังสามารถสั่งงานเตาอบให้ตั้งค่าตามสูตรอาหารเหล่านั้นได้โดยตรง เครื่องปรับอากาศที่สามารถตรวจสอบจำนวนผู้คนที่อยู่ในห้องเพื่อปรับการกระจายอากาศให้เหมาะสม โดย LG ThinQ ยังสามารถเรียนรู้พฤติกรรมของผู้ใช้และปรับอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศให้เหมือนกับที่เคยสั่งงานครั้งก่อนได้ หุ่นยนต์ดูดฝุ่นอัจฉริยะ(LG HomBot) ที่สามารถสั่งงานให้เริ่มทำความสะอาดเมื่อออกจากบ้านผ่านการตั้งค่าระบบการทำงานแบบอัตโนมัติ หรือแม้กระทั่งสมาร์ททีวีที่มาพร้อมฟังก์ชั่นการสั่งงานด้วยเสียงที่ถูกพัฒนาไปอีกขั้น ด้วยความสามารถในความเข้าใจถึงบริบทของการสั่งงานของผู้ใช้ที่เชื่อมโยงกับเนื้อหาที่กำลังเล่นอยู่บนทีวี เช่น การสอบถามถึงสถานที่ตั้งของฉากหรือแบรนด์เสื้อผ้าที่นักแสดงสวมใส่ในภาพยนตร์ที่กำลังรับชม เป็นต้น
ทั้งหมดนี้แอลจีได้นำมาจัดแสดงผ่านบ้านจำลองให้ผู้ใช้งานทั่วโลกได้สัมผัสภายในงานแสดงเทคโนโลยี ระดับโลกทั้ง LG InnoFest ในปีที่แล้วและ CES เมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยผลิตภัณฑ์บางส่วนก็ได้เข้ามาในตลาดไทยให้ผู้ใช้งานได้สัมผัสประสบการณ์ของบ้านอัจฉริยะกันแล้ว ต้องรอติดตามว่าในปี 2020 กับการมาของ 5G นี้ แอลจีจะนำนวัตกรรมทั้ง IoT และ AI มาเสริมความเป็นบ้านอัจฉริยะที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นอย่างไร
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ LG ThinQ และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ที่ www.lg.com/th