บริษัท พร็อพทูมอร์โรว์ จำกัด ได้จัดเสวนา หัวข้อ”28วัน หลังประกาศใช้กฎหมายควบคุมสัญญาเช่าฯ ใครได้ ใครเสีย”
นายชินภัทร วิสุทธิแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและภาษี กล่าวว่า จากการประกาศคณะกรรมการว่า ด้วยสัญญาเรื่องให้ธุรกิจการเช่าอาคาร เพื่ออยู่อาศัย เป็นธุรกิจควบคุมสัญญาพ.ศ 2561ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1พ.ค. ที่ผ่านมา กฎหมายดังกล่าว ส่งผลกระทบทั้งผู้ประกอบการที่ให้เช่าและผู้บริโภคที่เป็นผู้เช่า
สำหรับผู้บริโภคนั้น อาจได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าเช่า ของเจ้าของทรัพย์ที่รายได้ลดลง เนื่องจากกฎหมายใหม่ให้เก็บค่าเช่าและเงินประกัน ได้อย่างละไม่เกิน1เดือน จากเดิมที่เก็บค่าเช่าและเงินประกัน ล่วงหน้าอย่างละ 3-4เดือน ส่งผลให้ผู้ประกอบมีการปรับตัว เพื่อหารายได้เพิ่ม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการผิดสัญญา
ในส่วนของผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ให้เช่าก็ได้รับผลกระทบ เนื่องจากสัญญามีรายละเอียดของเนื้อหาที่กำหนดบทบาทและหน้าที่ผู้ให้เช่า ซึ่งหลายๆประเด็นไม่สามารถไปในสัญญาเช่าได้ เช่น การยกเว้นความผิดของผู้ให้เช่า ตัวอย่างคือ การปิดกั้นสถานที่เช่ากรณีที่ค้างชำระค่าเช่า เป็นต้น
พร้อมกันนี้ ได้เสนอทางออกให้กับผู้ประกอบการไม่ต้องทำสัญญาเช่า แต่ทำหลักฐานการเช่าแทน เพราะสัญญาเช่าต้องลงนาม 2ฝ่าย ส่วนหลักฐานการเช่าลงนามฝ่ายเดียวคือ ผู้เช่า นอกจากนี้ ยังแนะให้ไปจดทะเบียนบริษัทเพื่อลดภาระทางภาษี โดยพบว่า การจดเป็นบริษัทจะมีเงินกลับมาถึง 72%ส่วนบุคคลจะมีเงินกลับมาที่ 65%และคณะบุคคลจะมีเงินกลับคืนมา 42%
นายรวิโรจน์ อัมพลเสถียร ผู้ประกอบกาธุรกิจอพาร์ตเมนต์ กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นด้วยกับสัญญาเช่าที่มีการควบคุมเพราะเป็นการป้องกันผู้ประกอบการที่จะเอารัดเปรียบผู้เช่า เช่น การบวกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปเป็นภาระแก่ผู้เช่า รวมทั้งการคิดอัตราค่าน้ำค่าไฟในอัตราที่สูง เป็นต้ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.)มีความตั้งใจออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค แม้จะไม่มีกฎหมายดังกล่าวแต่ก็อาจไปใช้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่จะควบคุมผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มภาระผู้ประกอบการ การไม่สามารถปฎิบัติการจริงได้ หรือริดรอนสิทธิ์มากเกินไป เป็นต้น ทำให้ผู้เช่ามีีข้อต่อรองและรอฟ้องขับไล่อย่างเดียว ส่งผลต่อผู้ประกอบที่ลงทุนซึ่งส่วนใหญ่ใช้สินเชื่อจากสถาบันการเงินในการพัฒนาโครงการย่อมมีความเสี่ยงมากขึ้นและทำให้ผู้ประกอบมีภาระเพิ่มขึ้นตาม ดังนั้นผู้ประกอบการต้องปรับตัวและหากมีปัญหาต้องคุยกันเพื่อหาทางออกร่วมกัน ซึงกฎหมายควบคุมสัญญาเช่าจะมาช่วยความสมดุลระหว่างผู้ให้เช่าและผู้เช่า
พร็อพทูมอร์โรว์ เปิดแพลตฟอร์มใหม่บริการเช่าที่อยู่อาศัย
นายกรณ์กวินท์ พีระเดชไพศาล กรรมการบริหารบริษัท พร็อพทูมอร์โรว์ จำกัด เว็บไซต์ข่าวอสังหาริมทรัพย์ www.prop2 morrow.com กล่าวว่า บริษัทได้เปิดตัวธุรกิจใหม่ พร็อพพาชิลล์ (PROPACHILL) บนแพลตฟอร์ม ผ่านเว็บไซต์www.propachill .com เพื่อการเช่ามากกว่า 2ปี ให้บริการเช่าทั้งที่อยู่อาศัย บ้าน คอนโดมิเนียม อพาร์ทเม้นท์ แบบไม่เก็บเงินมัดจำ ผู้เช่า จ่ายเพียงเงินค่าเช่าล่วงหน้า 1เดือน เพื่อแก้ปัญหาเวลาผู้เช่าต้องจ่ายเงินก้อนตอนทำสัญญาเช่า และแก้ปัญหาความกังวลของผู้ให้เช่า เรื่องความเสียหายภายในห้อง โดยดึงพันธมิตร”กรุงเทพประกันภัยทำประกันคุ้มครองความเสียหายให้กับอสังหาฯ คลอบคลุมความเสียหาย ด้านต่างๆ อาทิ ความเสียหายต่อเฟอร์นิเจอร์ ผนังห้อง พื้น เครื่องใช้ไฟฟ้า คุ้มครองสูงสุด 5แสนบาท
ทั้งนี้ ล็งเห็นว่าจุดอ่อนของธุรกิจการเช่าอสังหาฯ อยู่ที่เงินมัดจำ 3เดือน ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฎิบัติมานาน ทำให้ผู้เช่าต้องรอเงินก้อน กว่าจะได้เช่าทำให้ระบบธุรกิจล่าช้า ขณะเดียวกัน นายหน้าผู้เป็นส่วนสำคัญในธุรกิจการเช่า ยังได้รับค่าคอมมิชชั่นเหมือนเดิม และเจ้าของทรัพย์ ได้รับค่าเช่าจากแผนการลงทุนที่วางไว้ รวมไปถึงบริษัทพัฒนาอสังหาฯ มีตัวช่วยในการระบาย สต็อก คอนโดมิเนียมที่แล้วเสร็จ แต่ยังไม่มีผู้ซื้อ
นับตั้งแต่ปี 2539-2564 จะมีคอนโดมิเนียม สร้างเสร็จจดทะเบียนเป็นอาคารชุดประมาณถึง 1ล้านยูนิต ในจำนวนนี้ผู้ซื้อเพื่อการลงทุน ทั้งปล่อยเช่าหรือ ซื้อเพื่อขายต่อคิดเป็น 30% หรือประมาณ3 แสนยูนิต ซึ่งคือโอกาสของธุรกิจ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนด้านการท่องเที่ยวจากต่างชาติที่มาเที่ยวเมืองไทย รวมถึงลูกค้าองค์กรของบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไท ย ที่ต้องการหาห้องเช่า หรือบ้านเช่าให้กับผู้บริหาร